วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

ดอกกุหลาบ Rose

      ประวัติของดอกกุหลาบ

          ช่วงหน้างานหรือเทศกาลอะไรก้ตาม ดอกไม้ที่นิยมนำมาเป็นไม้ประดับมากที่สุดเห็นจะไม่พ้นดอกกุหลาบไม้ดอกชนิดนี้จัดเป็นราชินีของมวลดอกไม้ก็ว่าได้ เรื่องราวของกุหลาบมีให้อ่านให้ค้นคว้ากันไม่รู้จบ เมื่อเริ่มเขียนเรื่องกุหลาบจนใจจริงๆ เรื่องกุหลาบมีเยอะมาก  

  ประวัติของกุหลาบมีเรื่องเล่ามากมาย ตั้งแต่ กุหลาบป่าถูกนำมาปลูกไว้ในพระราชวังของจักรพรรดืจีน ในสมัยราชวงศ์ฮั่นราว 5,000 ปี อียิปตืปลูกกุหลาบเป็นไม้ดอก ส่งไปขายชาวโรมัน ชาวโรมันถือว่าดอกกุหลาบเป็นสัยลักษ์ของความรัก ซึ่งเป็นทั้งของขวัญ เป็นดอกไม้สำหรับทำเป็นมาลัยต้อนรับแขก เป็นดอกไม้สำหรับงานเฉลิมฉลองต่างๆ ใช้เป็นส่วนประกอบสำหรับทำขนม ทำไวน์ ส่วนน้ำมันกูหลาบยังใช้มำยา
 กุหลาบนั้นมีชื่อสามัยว่า "Rose" ชื่อทางพฤกาาศาสตร์ว่า "Rosa hybrids" ขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่ง ลักษณะใหญ่มีไม่ต่ำกว่า5กลีบ กุหลาบนั้นมีกลิ่นหอมชวนดม และมีหลายสี เช่น แดง ขาว เหลือง ชมพู และมีอีกหลายชนิด
                 นอกจากการให้กุหลาบในวันวาเลนไทน์แล้ว การให้กุหลาบสีอะไร เสมือนระบุความหมายเป็นนัยๆอีกด้วยเช่นถ้าสีแดงหมายถึงสีที่แสดงถึงความรัก ส่วนจำนวนดอกที่ให้ก็แสดงความรักเช่นกัน กฏเกณฑ์พวกนี้ไม่รู้ว่าใครเป็นคนตั้งคนเริ่ม แต่สรุปว่าให้หนึ่งดอกนั้นคือรักแรกพบ สามดอกแค่รักคุณ สำหรับ 999 ดอกรักคุณจนความตายมาพรากเราจากกัน  เช่น                   

  จำนวนกุหลาบสื่อความหมาย
          1 ดอก รักแรกพบ
          2 ดอก แสดงความรู้สึกที่ดีให้กัน
          3 ดอก ฉันรักเธอ
          7 ดอก คุณทำให้ฉันหลงเสน่ห์
          9 ดอก เราสองคนจะรักกันตลอดไป
          10 ดอก คุณเป็นคนที่ดีเลิศ
          11 ดอก คุณเป็นสมบัติชิ้นที่มีค่าชิ้นเดียวของฉัน
          12 ดอก ขอให้เธอเป็นคู่ของฉันเพียงคนเดียว
          13 ดอก เพื่อนแท้เสมอ
          15 ดอก ฉันรู้สึกเสียใจจริงๆ
          20 ดอก ฉันมีความจริงใจต่อเธอ
          21 ดอก ชีวิตินี้ฉันมอบเพื่อเธอ
          36 ดอก ฉันยังจำความหลังอันแสนหวาน
          40 ดอก ความรักของฉันเป็นรักแท้
          99 ดอก ฉันรักเธอจนวันตาย
          100 ดอก ฉันอุทิศชีวิตนี้เพื่อเธอ
          101 ดอก ฉันมีคุณเพียงคนเดียวเท่านั้น
          108 ดอก คุณจะแต่งงานกับฉันไหม
          999 ดอก ฉันจะรักคุณจนวินาทีสุดท้าย
                                                       สีกุหลาบสื่อความหมาย

           สีแดง สื่อความหมายถึง ความรักและความปราถนา เป็นดอกไม้ของกามเทพ คิวปิด และอีรอส เป็นสิ่งนำโชคนำความรักมาให้แก่หญิงหรือชายที่ได้รับ

          สีชมพู สื่อความหมายถึง ความรักที่มีความสุขอย่างสมบูรณ์

          สีขาว สื่อความหมายถึง ความมีเสน่ห์ ความบริสุทธิ์ มิตรภาพ และความสงบเงียบ และนำโชคมาให้แก่หญิงหรือชายเช่นเดียวกับกุหลาบแดง

          สีเหลือง สื่อความหมายถึง เราเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันเสมอนะ

          สีขาวและแดง สื่อความหมายถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

          สีส้ม สื่อความหมายถึง ฉันรักเธอเหมือนเดิม

   กุหลาบเป็นไม้ที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก อาจเป็นเพราะเป็นดอกไม้ที่มีสีสวย ไม่ใช่แค่สีเดียวในหนึ่ง บางดอกให้เฉดสีสวยงามอย่างยากที่ศิลปินใดจะวาดเลียนแบบได้ ส่วนกลิ่นหอมที่แตกต่างแต่ละสายพันธุ์ก็มีเสน่ห์ดึงดูดใจและยังสามารถ บังคับให้ออกดอกได้ตามจังหวะเวลาที่ต้องการตามเทศกาลที่สำคัญๆอย่างง่ายมากกุหลาบถูกนำไปเป็นสัญญลักษณ์ของสิ่งต่างๆมากมาย โดยเฉพาะเรื่องของความรัก มีกุหลาบชื่อภาษฮังกฤษว่า My Valentine นำเข้ามาปลูกในบ้านเรานานแล้ว เป็นกุหลาบลูกผสมระหว่าง Little chief กับ Little Curt นำออกมาเผยแพร่ครั้งแรกตั้งแต่ปีพ. ศ .2518 กุหลาบพันธุ์นี้ออกเป็นช่อหลายดอกในกิ่งเดียว มีสีแดงอมส้มสดกลิ่นหอมอ่อนมากจนอาจไม่ได้  

                        ของกุหลาบที่คนส่วนใหญ่ในบ้านเรานำมาใช้ประโยชน์ช้กัน คือ
  • ปลูกเพื่อตกแต่งสวน
  • ตกแต่งงานเลี้ยง หรืองานมงคลต่างๆ
  • ปลูกเพื่อตัดดอกขาย
  • นำไปสกัดเอาน้ำมันหอมของกุหลาบ
     ปัจจุบันนี้ประเทศไทยเรามีการปลูกกุหลาบเพื่อเป็นการค้ามากว่า 5,000 ไร่ ทั่วประเทศไทย แหล่งปลูกดอกกุหลาบที่สำคัญในบ้านเราก็มี เช่น ตาก เชียงใหม่ เชียงราย นครปฐม ฯลฯ ประเภทดอกกุหลาบที่เขาปลูกกันก็อย่างเช่น





  • กุหลาบดอกใหญ่
  • กุหลาบก้านกลาง
  • กุหลาบก้านเล็ก
  • กุหลาบช่อ
  • กุหลาบหนู

                                                                

ขั้นตอนการปลูกกุหลาบ

การปลูกกุหลาบไม่ใช่เรื่องยากเย็นอะไรเลย เพียงแต่เราต้องใจเย็นนิดนึง รอเวลาว่าที่เหมาะสมเสียก่อนแล้วค่อยปลูก ไม่ใช่ว่าซื้อมาจากสวนสดๆ ร้อนๆ ก็เอาลงกระถางเลย รับรองว่าเสร็จทุกรายไป :) แรกๆ ผมก็เป็นอย่างนี้แหละครับ ทำอย่างนี้พอดอกหมด ต้นก็เตรียมตายได้เลย มาดูขั้นตอนกันเลยดีกว่าจะได้ไม่เสียเวลา เวลาเป็นเงินเป็นทอง

อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม
  1. ต้นกุหลาบที่ถูกเลือกมาเป็นอย่างดี อิอิ
  2. ดินสำหรับปลูกกุหลาบโดยเฉพาะ อันนี้ไม่มีสูตรตายตัวนะครับ ถ้าเราไปถามตามร้านขายต้นไม้ เค้าก็มักจะตอบว่าใช้ได้หมดแหละซึ่งจริงๆแล้วไม่ใช่เลย เรื่องดินเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่สุดเลยก็ว่าได้ในการปลูกกุหลาบ แล้วจะเลือกยังไง ? เอาง่ายๆนะครับ เลือกดินที่หลังจากปลูกไปแล้วในอนาคตจะไม่กลายสภาพเป็นดินเหนียวก็แล้วกัน
  3. กระถางดินเผาที่ควรมีความกว้างของปากกระถางอย่างน้อย 1 ฟุต เพราะกุหลาบเป็นพืชที่กินแร่ธาตุในดินมาก ทำให้สารอาหารในดินหมดเร็ว และเราก็จะได้ไม่ต้องเปลี่ยนกระถางบ่อยๆ หากต้นโตขึ้น
  4. ฟูราดาน สำหรับรองก้นกระถาง หรือหลุมถ้าปลูกลงดิน เพื่อป้องกันหนอนมากัดกินใบและดอก
  5. ปุ๋ย ต่างๆ แล้วแต่ความชอบครับ เน่นให้เป็น บำรุงใบแล้วกัน เพราะถ้าใบดี ต้นก็จะแข็งแรง ดอกก็จะมาเองโดยไม่ต้องร้องขอ
  6. ขลุยมะพร้ามป่นสำหรับคลุมบนผิวดินเพื่อรักษาความชุ่มชื้น อันนี้ต้องเอามาแช่น้ำทิ้งไว้ซัก 1 คืน ก่อนใช้นะครับ
ขั้นตอนการปลูก
  1. เมื่อเราซื้อต้นกุหลาบมาไม่ว่าจะพันธุ์อะไรก็ตาม ให้พักต้นไว้ประมาณ 7 วัน ตัดดอกที่ติดมากับต้นปักแจกันให้หมดทั้งตูมทั้งบาน อย่าเสียดาย (นับลงมาจากดอก 5 ใบ แล้วตัด) ก่อนเอาลงกระถางหรือเอาลงดิน ไม่ต้องใส่ปุ๋ยบำรุงใดๆ ทั้งสิ้นในช่วงนี้ เพียงแต่รดน้ำตอนเช้าทุกวันเท่านั้นพอ การรดน้ำต้นกุหลาบ ก็ควรรดที่โคนต้นเท่านั้นนะครับ ไม่ใช่ฉีดน้ำเป็นสายรดทั้งต้น เพราะจะทำให้ต้นกุกราบเป็นโรคง่าย "อันนี้ต้องจำไว้เลยนะครับ ไม่จำเป็นอย่ารดน้ำให้โดนดอกหรือใบ"
  2. โดยภายใน 7 วันอันตรายนี้ ก็ให้ค่อยๆ ขยับต้นกุหลาบให้โดนแดนวันละนิด เช่น วันแรกให้วางต้นกุหลาบให้อยู่ในตำแหน่งที่โดนแดดประมาณ 1 ชั่วโมงพอ แล้วเพิ่มไปวันละชั่วโมง จนครับ 7 วัน ก็ประมาณ 6-8 ชั่วโมงพอดี
  3. หากไม่มีอะไรผิดพลาดจะเริ่มสั่งเกตเห็นว่ากุหลาบเริ่มแตกตาใหม่ๆ ออกมาใกล้กับบริเวณที่เราตัดดอกทิ้งในขั้นตอนที่ 1 แสดงว่าต้นแข็งแรงดี ถ้าไม่เป็นตามนี้ก็อาจจะมีอาการใบเหลือง ซึ่งแสดงว่าขาดน้ำ (รดน้ำไม่ชุ่มพอ)
  4. วันที่ 8 ถ้าพร้อมก็ปลูกได้เลย โดยให้เอาต้นกุหลาบออกจากถุงเพาะ หรือกระถางเดิมซึ่งใบเล็ก แล้วนำไปใส่กระถางใบใหม่ โดยใส่ดินรองที่ก้อนกระถางก่อนประมาณ 3 นิ้ว กดให้แน่น วางต้นกุหลาบลงไปพร้อมดินเดิมที่ติดต้นมา เทดินที่เหลือใส่ ค่อยๆ อัด เหลือพื้นที่ไว้คลุมขลุยมะพร้าวที่แช่น้ำไว้ด้วยด้ว
  5. ลองรดน้ำดู น้ำควรไหลผ่านชั้นดินลงไปได้ดี แต่ไม่เร็วเกินไป และไม่ช้าเกิน 10 นาที ถ้าเร็วเกินดินก็จะรักษาความชื้นไว้ไม่ดี แต่ถ้าช้าเกินก็จะทำให้รากเนา ซึ่งเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้จริงๆ :)
  6. กระถางกุหลาบควรถูกวางในตำแหน่งที่ได้รับแสงแดดวันละอย่างน้อย 6 ชั่วโมง
http://rosesplanting.blogspot.com/2010/02/roses-planting_09.html  
            ดอกบัว
    ประวัติของดอกบัว

    บัวเป็นชื่อเรียกของไม้น้ำที่มีใบลอยหรือชูพ้นน้ำ ดอกหลากสีเห็นได้ทั่วไปตามแหล่งน้ำที่เราๆ ท่านๆ รู้จัก ที่จริงแล้วมีการกล่าวถึงไม้น้ำชนิดนี้มานานมากแล้ว ในแหล่งอารยธรรมต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งมีความเกี่ยวข้องหรือมีหลักฐานเป็นภาพปรากฏตามแหล่งวัฒนธรรมสำคัญมากมา ทั้งในอียิปต์ เมโสโปเตเมีย จีน อินเดีย ฯลฯ
    อุบลชาติ และปทุมชาติ ก็เป็นชื่อเรียกของบัวเช่นกัน แต่เป็นชื่อเรียกคำกลางๆ ที่มีรากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤต “อุบลชาติ” แปลงมาจากคำว่า อุบล หรือ อุตฺปล ในภาษาบาลีสันสกฤต หมายถึง บัวกินสาย  บัวก้านอ่อน บัวผัน บัวเผื่อน บัวขาบ ที่นักพฤกษศาสตร์จัดอยู่ในวงศ์ (Family) เดียวกัน คือ Nymphaeaceae ชื่อสามัญในภาษาอังกฤษคือ Waterlily ส่วน “ปทุมชาติ” นั้น แปลงมาจากคำว่าปทุม หรือ ปทฺม ในภาษาบาลีสันสกฤต หมายถึง บัวหลวง หรือบัวก้านแข็ง นักวิทยาศาสตร์จัดอยู่ในวงศ์ (Family) คือ Nelumbonaceae ชื่อสามัญในภาษาอังกฤษคือ Lotus
    “บัว” ราชินีแห่งไม้น้ำ นักพฤกษศาสตร์ได้จัดสกุล (genus) ของไม้น้ำที่คนไทยเรียกว่า “บัว” หรืออุบลชาติ ไว้ในวงศ์ Nymphaeaceae เพราะลักษณะของใบและดอกที่ชูช่ออยู่เหนือน้ำ  และความงามของดอกบัวที่เบ่งบานประดุจความงามของหญิงสาวหรือเจ้าสาว คำว่า “Nymph” มาจากรากศัพท์ภาษาอังกฤษแปลว่า “สาวน้อย” (beautiful Young Woman) หรือ “แม่เทพธิดาที่อยู่ในน้ำ” และจากลักษณะเด่นอื่นๆ นอกเหนือจากความงามของบัว อาทิ บัวมีหลากสีหลายพันธุ์ ดอกมีสารพัดสีบางพันธุ์มีดอกสีน้ำเงิน ซึ่งพบได้ยากในไม้ดอกอื่นๆ แม้แต่ในดอกเดียวกันก็อาจมีหลายสี หรือบางพันธุ์มีการเปลี่ยนสีของดอกไปเรื่อยๆ ตามระยะเวลาการบาน ดอกบัวยังไม่เหมือนพืชชนิดอื่นอีกที่เมื่อดอกบานแล้วก็บานเลย แต่ดอกบัวจะบานแล้วก็หุบเมื่อหุบแล้วก็บานได้ใหม่อีก ดอกบัวบางพันธุ์ยังมีกลิ่นหอม นอกจากนี้บัวยังเป็นพืชที่ปลูกได้ง่ายและดูแลง่าย สามารถขึ้นเองได้ตามธรรมชาติ สมญาของบัวที่ได้รับว่าเป็น “ราชินีแห่งไม้น้ำ” ทั้งมวล จึงมีความเหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง
    บางสายพันธุ์อยู่ที่สีของดอก  บางพันธุ์ให้ดอกสีน้ำเงิน  บางพันธุ์ให้ดอกสีเหลือง  บางพันธุ์ให้ดอกสีชมพูหรือบางพันธุ์สีสันของดอกจะเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ตามระยะเวลาการบานของดอก บางสายพันธุ์ให้มีกลิ่นหอมซึ่งลักษณะเด่นเหล่านี้ทำให้บัวได้ชื่อว่าเป็น “ราชินี้แห่งไม้น้ำ”
    บัวเป็นราชินีแห่งไม้น้ำ จัดเป็นพันธุ์ไม้น้ำที่ถือเป็นสัญญลักษณ์ของคุณงามความดี บัวหลวงชอบขึ้นในน้ำจืดออกดอกตลอดปี ชอบน้ำสะอาด อยู่ในน้ำลึกพอสมควร ถิ่นกำเนิดของบัวอยู่ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ จะเริ่มบานตั้งแต่ตอนเช้า ก้านดอกยาวมีหนามเหมือนก้านใบ ชูดอกเหนือน้ำ และชูสูงกว่าใบเล็กน้อย กลีบเลี้ยง 4-5 กลีบ สีขาวอมเขียวหรือสีเทาชมพู ร่วงง่าย กลีบดอกจำนวนมากเรียงซ้อนหลายชั้น เกสรตัวผู้มีจำนวนหลายสี

    บัว มีหลายชนิด แต่ละชนิดมีหลายสี ชนิดพันธุ์ของบัวจำแนกสายพันธุ์ได้ดังนี้
     
    1.  ปทุมชาติ หรือ บัวหลวง ( Lotus ) จัดอยู่ในสกุล Nelumbo มีแหล่งกำเหนิดในทวีปเอเซีย มีไหลอยู่ใต้ดิน ใบมีขนาดใหญ่ ดอกมีทั้งดอกซ้อนและไม่ซ้อน ใบและดอกชูขึ้นเหนือน้ำ ในประเทศไทยมีอยู่ 4 พันธ์
    2.  อุบลชาติ ( Water-lily ) จัดอยู่ในสกุล Nymphaea มีแหล่งกำเหนิดในทวีปเอเซีย มีเหง้าอยู่ใต้ดิน ใบลอยแตะผิวน้ำ รูปร่างใบมีหลายแบบ ก้านใบไม่มีหนาม กลีบดอกมีทั้งดอกซ้อน แบ่งเป็น 2 ประเภท
    2.1 อุบลชาติยืนต้น ( Hardy water-lily ) มีถิ่นกำเหนิดในเขตอบอุ่น และเขตหนาว หรือที่เรียกว่า บัวฝรั่ง มีเหง้าเลื้อยไปตามผิวดิน แตกหน่อง่าย ติดเมล็ดยาก พักตัวในฤดูหนาว ขอบใบเรียบ ดอกลอยแตะผิวน้ำหรือชูเหนือน้ำเล็กน้อย ดอกมีหลายสี กลีบดอกซ้อนสวยงามมาก มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามลักษณะดอกและสีตามที่ผู้พัฒนาพันธุ์คิดขึ้น ได้แก่
    2.2 อุบลชาติล้มลุก ( Tropical water-lily ) มีถิ่นกำเหนิดในเขตร้อน ไม่พักตัวในฤดูหนาว มีเหง้าเจริญเติบโตในแนวดิ่ง ดอกมีหลายสี ใบลอยแตะผิวน้ำ ดอกชูขึ้นเหนือผิวน้ำ ขอบใบจักมน หรือ แหลม แบ่งออกเป็น 4 ชนิด
    2.2.1 บัวผันและบัวเผื่อน ( บานกลางวัน ) ดอกมีกลิ่นหอมมาก บานตอนเช้าหุบตอนเย็น ก้านและใบไม่มีขน ดอกมีหลายสี ติดเมล็ดง่าย  ผสมพันธุ์ข้ามระหว่างสีต่างๆ ได้ง่ายทั้งโดยแมลงในธรรมชาติ และโดยฝีมือมนุษย์ บัวชนิดนี้จึงเกิดสีสันต่างๆ มากมาย เป็นที่นิยมปลูกเป็นไม้ประดับกันมาก ราคาถูก ขยายพันธุ์ง่าย ดูแลง่าย ดอกก็หอมมาก สามารถหาซื้อได้ตามร้านต้นไม้ทั่วไป ราคากระถางละ 25-50 บาท ( ในกระถางพลาสติก 10" ) 
    2.2.2 บัวสาย ( บานกลางคืน ) เป็นบัวที่ชาวบ้านนิยมเก็บสายบัวมาประกอบอาหาร บานตอนใกล้ค่ำและหุบตอนเช้า บางชนิดไม่หอม บางชนิดหอมอ่อนๆ บัวชนิดนี้มีก้านใบและก้านดอกยาวสามารถขึ้นอยู่ได้ในระดับน้ำลึกๆ ได้  พบเห็นได้ทั่วไปตามหนองบึงและในแหล่งน้ำธรรมชาติตามชนบท แตกกอง่ายและมีหัวอยู่ใต้ดิน ในฤดูแล้งที่น้ำแล้งก็โทรมไปแต่หัวยังฝังอยู่ในดิน เมื่อฤดูฝนมีน้ำมาก็จะแตกใบขึ้นมาใหม่เต็มหนองบึง ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาจนเกิดสีสันและพันธุ์ใหม่ขึ้นมาอีกหลายชนิด และยังจะมีพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นเรื่อยๆ 
    2.2.3 จงกลนี เป็นบัวพันธุ์ใหม่ที่พบในธรรมชาติคาดว่าเกิดจากการแปลงพันธุ์ในธรรมชาติ ใบเหมือนบัวตระกูลบัวผัน บัวเผื่อน แต่ดอกซ้อนเหมือนบัวฝรั่ง มีเหง้าใต้ดิน เหง้าเจริญในแนวดิ่ง ต้นอ่อนจะเกิดจากเหง้าใต้ดินเจริญเติบโตขึ้นมาจากโคนต้นแม่ ใบลอยลอยแตะผิวน้ำ ดอกลอยแตะผิวน้ำเล็กน้อย ก้อนใบก้านดอกยาวและอ่อนควรปลูกในที่ระดับน้ำลึก  ดอกบานแล้วบานเลยจะไม่หุบจนกว่าจะโรยไป ประมาณ 3 วัน จงกลนีเป็นบัวที่มีกลีบดอกเยอะแต่สีสันยังไม่สวยและที่กลีบดอกมีสีเขียวดูเปรอะ กลีบดอกเรียงตัวไม่เป็นระเบียบ 
    3. บัวกระด้ง หรือ บัววิคตอเรีย ( Royal water-lily, Victoria ) บัวใบใหญยักษ์ ขอบใบยกตัวขึ้นคล้ายกระด้ง ลอยบนผิวน้ำ ใบ ก้านใบ ก้านดอกมีหนามแหลมอยู่ทั่ว ดอกสีขาว และ สีชมพู ดอกมีกลิ่นหอมแรง บานตอนกลางคืนและหุบในตอนเช้า เป็นบัวที่ต้องใช้พื้นที่ปลูกมาก และมีปัญหากอบัวหลุดลอยขึ้นสู่ผิวน้ำหากระดับน้ำที่ปลูกมีการเปลี่ยนขึ้นอย่างกระทันหัน

    บัวที่พบและนิยมปลูกในประเทศไทย มาจาก 3 สกุล คือ
    • บัวหลวง (lotus) เป็นบัวในสกุล Nelumbo มีชื่อเรียกกันทั่วไปว่า ปทุมชาติ หรือบัวหลวง
    • บัวผัน, บัวสาย (waterlily) เป็นบัวในสกุล Nymphaea มีลำต้นใต้ดินเป็นหัว หรือเหง้า ใบและดอกเกิดจากตาหรือหน่อที่เจริญขึ้นมาที่ผิวน้ำด้วยก้านส่งใบและยอด
    • บัววิกตอเรีย (Victoria) เป็นบัวในสกุล Victoria มีชื่อเรียกกันทั่วไปว่า บัวกระด้ง จัดเป็นบัวที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
    การดูแลรักษา
    น้ำ การปลูกบัวในภาชนะปลูกต้องหมั่นตรวจดูน้ำ สาหร่าย และตะไคร้น้ำ น้ำต้องใสสะอาดไม่มีสีค้ำ กรณีน้ำเสียเกิดจากการเน่าของใบและดอกที่แก่จะต้องเด็ดก้านใบและก้านดอกทิ้งโดยเด็ดที่โคนต้น หากน้ำยังไม่ใสให้เปลี่ยนถ่ายน้ำออกแล้วเติมใหม่ ส่วนสาหร่ายและตะไคร่น้ำให้เก็บหรือใช้ภาชนะตักออกทิ้ง และที่สำคัญอย่าปล่อยให้น้ำในภาชนะแห้ง การใส่ปุ๋ย ปุ๋ยบัวที่ใช้โดยทั่วไปเป็นสูตรเสมอ คือ ๑๕-๑๕-๑๕ หรือ ๑๖-๑๖-๑๖  ประมาณ ๑ ช้อนโต๊ะ ห่อกระดาษฝังโคนต้น อาจเป็นลูกกอน หรือปุ๋ยอัดก้อนก็ได้ โรคและแมลง โรคและศัตรูของบัวซึ่งผู้ปลูกมักประสบปัญหา ได้แก่ โรคใบจุด เกิดจากเชื้อรา อาการจะเป็นที่ใบมีจุดวงกลมสีเหลืองแล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล แก้ไขโดยเด็ดใบทิ้ง หรือฉีดพ่นด้วยสารเคมีป้องกันเชื้อรา เพลี้ยไฟ ลักษณะตัวสีขาวเล็ก จะเกาะอยู่หลังใบดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้บัวไม่เจริญ เข้าทำลายดอกและก้านดอก จะทำให้ดอกตูมเหี่ยวแห้งเป็นสีดำ ไม่บาน เพลี้ยอ่อน ลักษณะตัวเล็กๆ สีน้ำตาล ดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณโคนก้านดอกก้านใบ ใต้และบนใบอ่อน จะทำให้ดอกและใบมีขนาดเล็กสีเหลืองซีดและแห้งตาย หนอนพับใบ เกิดจากผีเสื้อกลางคืนมาวางไข่บนใบจนฟักเป็นตัวหนอนจะกัดกินและดูดน้ำเลี้ยงจากใบแล้วพับใบปิดทับตัว เพื่อเข้าดักแด้ และป้องกันศัตรูพวกนกต่างๆ       หอย ได้แก่ หอยขม หอยโข่ง หอยเชอรี่ ทั้งตัวอ่อน และตัวเต็มวัยจะดูดน้ำเลี้ยงจากใบอ่อนและกัดกินใบบัว
                http://www.flowerdecorclub.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539268601&Ntype=7  http://www.lotus.rmutt.ac.th/archives/category/planting-and-care
      ดอกกล้วยไม้

     ประวัติของดอกกล้วยไม้
    • กล้วยไม้เป็นไม้ดอกที่มนุษย์รู้จักกันมานานแล้วตั้งแต่ก่อนคริสตกาล คนสมัยโบราณใช้กล้วยไม้เป็นพืชสมุนไพร ะเขาจะใช้แต่เฉพาะกล้วยไม้ที่มีหัวเท่านั้นในการทำยาสมุนไพร ซึ่งถ้าจะพูดถึงพันธุ์ของกล้วยไม้ในโลกนี้ ก็น่าจะมีประมาณ 25,000 ชนิด แต่สมัยก่อนเราไม่รู้จักการนำกล้วยไม้มาปลูก และประดัษไว้ในบ้านเรือน แต่ชาวจีนเป็นชาติแรก ที่ได้นำเอากล้วยไม้มาปลูกเลี้ยงไว้ในบ้าน หรือวางประดับไว้ในห้อง
       กล้วยไม้ส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตร้อน เมื่อสมัยก่อนกล้วยไม้จะถูกเก็บมาจากป่า เพราะมนุษย์ยังไม่รู้จักเพาะหรือผสมพันธุ์กล้วยไม้ ต่อมาเมื่อเริ่มมีคนเลี้ยงกล้วยไม้รุ่นแรกๆ พวกเขาก็เริ่มทำการผสมกล้วยไม้ป่าข้ามสายพันธุ์ และกล้วยไม้ที่ได้ผสมขึ้นมาจนสำเร็จนั้น คือ Calanthe Doninii เมื่อ 1853 และต่อมาก็เริ่มมีการผสมพันธุ์กันมากขึ้นอย่างกว้างขวาง
    • ซึ่งการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ในสมัยก่อนนั้น เป็นปลูกเลี้ยงกันเล่นๆ ส่วนใหญ่แล้วจะนิยมกันในหมู่ของพวก ในวงศ์สังคมชั้นสูง ไม่ค่อยเปิดเผยมากนัก จึงเป็นการเลี้ยงกล้วยไม้เล่นๆ เพื่อความบันเทิง เพื่อนำมาอวดกัน หรือแลกเปลี่ยนกันเสียส่วนใหญ่
    แต่ในปัจจุบันนี้ การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ ส่วนใหญ่จะทำกันเป็นเชิงพาณิชย์ โดยจะมีการเพิ่มผลผลิตของดอก ลดต้นทุนการผลิตต่างๆ เพื่อผลกำไรที่มากขึ้นประมาณนั้น ซึ่งประเทศไทยของเราก็เป็นแนวหน้าในการส่งออก กล้วยไม้ เช่นกัน
    กล้วยไม้มีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า "orchid" น่าแปลกที่ทั้งในภาษาไทยและอังกฤษต่างก็มีความหมายใกล้เคียงกัน เราเรียกพืชชนิดนี้ว่า กล้วยไม้ เพราะมีลักษณะ คล้ายกล้วย ได้แก่เอื้องต่าง ๆ เช่น เอื้องผึ้ง หรือเอื้องคำ ซึ่งมีมากในแถบภาคเหนือของประเทศ ส่วนของกล้วยไม้บางตอนมีลักษณะคล้ายผลกล้วยเราเรียกว่า ลำลูกกล้วย คำ "orchid" นั้น มาจากภาษากรีกหมายความถึงลักษณะโป่งเป็นกระเปาะคล้ายต่อมชื่อนี้ก็คงจะได้มาจากการพิจารณาจากลำลูกกล้วยที่เป็นส่วนของกล้วยบางชนิดเช่นเดียวกันแต่ลักษณะพื้นฐานทาง พฤกษศาสตร์ ที่บรรยายลักษณะพืชในวงศ์กล้วยไม้ ได้ยึดถือรายละเอียดต่าง ๆ ของดอกเป็นหลักสำคัญพันธุ์ไม้ในวงศ์กล้วยไม้ด้วย
               กล้วยไม้มีสภาวะความเป็นอยู่ตามธรรมชาติแตกต่างกัน บางชนิดอยู่บนพื้นดินบางชนิดอยู่บนต้นไม้ และบางชนิดขึ้นอยู่บนหินที่มีหินผุและใบไม้ผุ ตกทับถมกันอยู่ ทั้งนี้สุดแล้วแต่ลักษณะและอุปนิสัยของกล้วยไม้แต่ละชนิด ซึ่งจะปรับตัวตามความเหมาะสมกับสภาวะและการเปลี่ยนแปลงตามสภาพต่าง ๆ ของธรรมชาติที่แวดล้อม 


     
    ประโยชน์ของดอกกล้วยไม้
    กล้วยไม้ได้เข้ามามีบทบาทอยู่ในสังคมของมนุษย์เป็นเวลาช้านานแล้ว   ดังจะเห็นได้ว่า  ในประวัติศาสตร์ของประเทศจีน ซึ่งเป็นประเทศหนึ่งในโลกที่มีศิลปวัฒนธรรมซึ่งน่าสนใจ  และแผ่กระจายออกไปทั่วโลก    ก็ยังมีหลักฐานปรากฏบทบาทของกล้วยไม้อยู่ด้วย  เช่น  ภาพเขียนที่ปรากฏตามโบราณวัตถุต่างๆประเทศในยุโรป  บางประเทศที่ได้ทำการสำรวจดินแดนในเขตร้อนและเขตอบอุ่นของทวีปเอเชียและอเมริกาในสมัยก่อน  ก็ได้มีการนำกล้วยไม้นานาชนิดกลับไปเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์ รวมทั้งได้มีการเริ่มผสมพันธุ์เพื่อประโยชน์ต่างๆด้วย    เมื่อความเจริญทางด้านสังคม  เศรษฐกิจ  และวิทยาการได้ขยายตัวกว้าง-ขวางออกไป  ก็ได้ปรากฏว่า ประเทศต่างๆซึ่งกระจายอยู่ทั่วโลก และมีความเจริญพอสมควร  ได้ให้ความสนใจในการเลี้ยงกล้วยไม้กันทั่วๆไป   เมื่อได้วิเคราะห์ความนิยมในวงการกล้วยไม้ของประ-เทศต่างๆ อย่างกว้างขวางแล้ว  สามารถจะสรุปได้ดังนี้          
              กล้วยไม้เป็นพืชซึ่งใช้เป็นตัวอย่างเพื่อการศึกษาทางด้านวิชาการเกี่ยวกับธรรมชาติและชีวิตของพันธุ์ไม้ได้อย่างดี    เนื่องจากกล้วยไม้เป็นพืชวงศ์ใหญ่มาก   ลักษณะทางพันธุศาสตร์จึงมีความแตกต่างกันอย่างกว้างขวาง   และยังมีการกระจายพันธุ์อยู่ในสภาพแวดล้อมธรรมชาติที่ผิดแผกแตกต่างกันอีกด้วย  ทั่วโลกแม้ว่าจะได้มีการนำกล้วยไม้มาเลี้ยง  และศึกษาวิจัยนานพอสมควรแล้วก็ตาม    แต่ก็ยังได้มีรายงานว่าได้มีการค้นพบและตั้งชื่อทางพฤษศาสตร์แก่กล้วยไม้ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอยู่เสมอ  ดังนั้น นักวิชาการพฤกษศาสตร์สาขาต่างๆ และพืชศาสตร์จึงได้ให้ความสนใจที่จะนำกล้วยไม้มาเป็นพืชตัวอย่างเพื่อการศึกษาและวิจัยในสาขานั้นๆยิ่งไปกว่านั้น    ในสังคมของผู้นิยมเลี้ยงกล้วยไม้เป็นงานอดิเรกก็ประกอบด้วยบุคคลในหลายสาขาอาชีพ  ผู้ที่มีความถนัดในสาขาวิชาการใด  ที่จะนำมาใช้พัฒนาการเลี้ยงกล้วยไม้ได้ ก็จะให้ความสนใจนำวิชาชีพที่ตนถนัดมาใช้  ให้เกิดประโยชน์ในการปรับปรุงการเลี้ยงกล้วยไม้ด้วย  สำหรับผู้ที่มิได้อยู่ในสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวกับต้นไม้     บางคนมีรสนิยมในการรวบรวมพันธุ์และศึกษากล้วยไม้ป่านานาชนิด     และยังมีการศึกษาค้นคว้าจากตำราต่างๆ อย่างกว้างขวาง   กล้วยไม้จึงเป็นพืชที่สามารถดึงดูดความสนใจจากคนหลายประเภทให้ศึกษาวิทยาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับต้นไม้ดอกไม้เป็นอย่างดี
    ความเจริญในสังคมทั่วๆไปที่ได้ผ่านมาแล้วนั้น ได้เน้นหนักไปในด้านวัตถุเป็นอย่างมาก   การเพิ่มของจำนวนประชากรในส่วนต่างๆของโลกก็ดี  ความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการ  ตลอดจนทางด้านสังคม   และเศรษฐกิจ       ทำให้คนเราต้องมีภารกิจการงานหนักมากยิ่งขึ้น      ปัญหาต่างๆในชีวิตประจำวันนับเป็นแรงกดดันที่สำคัญทางจิตใจ  ประชาชนในประเทศต่างๆที่เจริญพอสมควรแล้ว  จึงมีความสนใจทำงานอดิเรกเพื่อเป็นการพักผ่อนจิตใจในยามว่าง     การเลี้ยงกล้วยไม้จัดได้ว่า   เป็นงานอดิเรกที่สร้างสรรค์  ทั้งในด้านจริยธรรมและการศึกษาไปในตัว  รวมทั้งได้มีโอกาสผ่อนคลายความตึงเครียดทางจิตใจในขณะที่อยู่กับต้นไม้   ทั้งยังศึกษาและติดตามการเจริญเติบโต  และได้ชมดอกที่สวยงาม  หรือลักษณะแปลกๆ  ซึ่งเป็นผลงานของแต่ละคน






    การดูแลรักษากล้วยไม้
    การให้น้ำ           น้ำที่ใช้รดกล้วยไม้ต้องเป็นน้ำที่มีคุณภาพดี มีปริมาณเกลือแร่ไม่สูงเกินไป เพราะจะเป็นพิษต่อระบบรากทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต ควรรดใน เวลาเช้าหรือบ่าย โดยใช้สายยางต่อกับหัวฉีดแบบฝอยละเอียด ลดการกระแทกที่ทำให้ดอก ใบช้ำ แต่ในช่วงที่ฝนตกหนักควรงดการให้ น้ำ 2-3 วัน รอจนกระทั่งเครื่องปลูกเริ่มแห้งจึงให้น้ำใหม่ ถ้าเป็นฤดูร้อนหรือฤดูหนาวควรรดน้ำให้บ่อยขึ้น
               น้ำ มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ เนื่องจากน้ำเป็นตัวทำละลายสารอาหารต่างๆ เพื่อให้รากของกล้วยไม้สามารถดูดอาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้ กล้วยไม้ต้องการน้ำที่สะอาดปราศจากเกลือแร่ที่เป็นพิษ มีความเป็นกรดเป็นด่างหรือค่า pH อยู่ระหว่าง 6-7 แต่น้ำที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่สุดต่อความต้องการของกล้วยไม้ คือ น้ำสะอาดบริสุทธิ์ที่มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ มีค่า pH ประมาณ 6.5 น้ำที่มี pH ต่ำกว่า 5.5 หรือสูงกว่า 7 จึงไม่ควรนำมาใช้รดกล้วยไม้ การทดสอบคุณสมบัติความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำแบบง่ายๆ คือ ทดสอบด้วยกระดาษลิสมัส ในการเลี้ยงกล้วยไม้ถ้าน้ำมี pH ต่ำกว่า 5.5 หรือสูงกว่า 7 หากมีความจำเป็นต้องใช้น้ำนี้รดกล้วยไม้ เนื่องจากไม่สามารถหาน้ำที่มีคุณสมบัติดีกว่า ควรทำให้น้ำมี pH อยู่ระหว่าง 6-7 ก่อน ดังนี้
               - น้ำที่มีค่า pH ต่ำกว่า 5.5 คือน้ำมีฤทธิ์เป็นกรดค่อนข้างมาก แก้ไขโดยตักน้ำใส่ภาชนะ เช่น ตุ่มหรือโอ่งไว้แล้วใช้ โซเดียมไฮดร็อกไซด์ ค่อยๆ เทใส่ลงไป แล้วคนให้เข้ากันจนทั่ว ทำการทดสอบระดับ pH จนกระทั่งน้ำมีค่า pH อยู่ระหว่าง 6-7
               - น้ำที่มีค่า pH สูงกว่า 7 คือน้ำที่มีเกลือแร่ที่เป็นพิษต่อกล้วยไม้ เช่น แคลเซียมไบคาร์บอเนตปนอยู่ในน้ำแสดงว่าน้ำนั้นมีความเป็นด่างมากไม่เหมาะที่จะนำไปรดกล้วยไม้ วิธีแก้หรือทำให้น้ำนั้นมี pH อยู่ที่ 6-7 ก่อน โดยตักน้ำใส่ภาชนะ เช่น ถัง ตุ่มหรือโอ่งไว้ แล้วใช้ กรดไนตริก ค่อยๆ เทใส่ลงไป คนหรือกวนให้เข้ากันจนทั่ว จนกระทั่งน้ำมีค่า pH อยู่ระหว่าง 6-7
               วิธีการการให้น้ำ            วิธีการให้น้ำกล้วยไม้สามารถทำได้หลายวิธี จะเลือกใช้วิธีใดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ อายุของกล้วยไม้ และความสะดวกของผู้ปลูกเลี้ยงเอง ซึ่งวิธีการให้น้ำมีดังนี้
               - จุ่มน้ำ โดยตักน้ำใส่ภาชนะแล้วนำกล้วยไม้มาจุ่มลงในน้ำ การจุ่มน้ำมีข้อดีคือน้ำจะซึมไปทั่วทุกส่วนของเครื่องปลูก เหมาะกับกล้วยไม้ที่ไม่มีรากเกะกะ เช่น สกุลหวาย สกุลแคทลียา มีเครื่องปลูกแน่น เช่น กาบมะพร้าวอัด ออสมันด้าอัด หรือเครื่องปลูกหนัก เช่น อิฐ กรวด ถ้าเครื่องปลูกเบา เช่น ถ่าน ถ่านจะลอย การรดน้ำวิธีนี้เป็นการล้างเครื่องปลูกให้สะอาดอยู่เสมออีกด้วย ข้อเสียคือการจุ่มน้ำบ่อยๆ อาจทำให้ รากอ่อน หน่ออ่อน ไปกระทบกระแทกกับภาชนะที่ใส่น้ำได้ และถ้ากล้วยไม้มีโรคแมลงอาศัยอยู่ น้ำในภาชนะอาจเป็นพาหะให้โรคแมลงระบาดได้ง่าย และการให้น้ำวิธีนี้ไม่เหมาะกับปริมาณกล้วยไม้มากๆ เพราะเป็นวิธีที่ช้ามาก เหมาะกับกล้วยไม้จำนวนน้อย และปลูกเลี้ยงในที่ไม่ต้องการให้พื้นเฉอะแฉะ เช่นระเบียงบ้าน ริมหน้าต่าง เป็นต้น
               - ไขน้ำให้ท่วม โดยทำโต๊ะปลูกกล้วยไม้ที่ขังน้ำได้ เวลาจะให้น้ำก็ไขน้ำให้ขังเต็มโต๊ะ ทิ้งไว้จนเห็นว่าเครื่องปลูกดูดซับน้ำเพียงพอแล้วจึงไขน้ำออก วิธีนี้ทำได้รวดเร็วกับกล้วยไม้จำนวนมาก ไม่ทำให้กล้วยไม้ไม่บอบช้ำ แต่ป้องกันโรคระบาดจากแมลงได้ยาก
               - ใช้บัวรดน้ำ วิธีนี้มีข้อดีคือต้นทุนต่ำ ส่วนข้อเสียคือถ้ามีกล้วยไม้จำนวนมากจะต้องใช้เวลาในการรดน้ำมาก หรือถ้าขาดความระมัดระวังฝักบัว ก้านบัว อาจจะกระทบต้น กระทบดอกกล้วยไม้ ทำให้กล้วยไม้บอบช้ำได้
               - สายยางติดหัวฉีด การใช้สายยางควรใช้หัวฉีดชนิดฝอยละเอียด การรดน้ำวิธีนี้สะดวก รวดเร็วและทุ่นแรง เหมาะสำหรับการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้เป็นจำนวนมาก
               - สปริงเกอร์ คือการใช้หัวฉีดติดตั้งอยู่กับที่แล้วพ่นน้ำเป็นฝอยให้กระจายไปทั่วบริเวณที่ต้องการ การรดวิธีนี้สะดวกสบายและรวดเร็วที่สุด ข้อเสียคือต้องลงทุนสูงและใช้ได้กับกล้วยไม้ที่มีความต้องการน้ำเหมือนๆ กัน ไม่เหมาะกับการเลี้ยงกล้วยไม้จำนวนน้อย แต่หลากหลายชนิด
               
    เวลาที่เหมาะสมแก่การให้น้ำ            การรดน้ำกล้วยไม้ปกติควรรดวันละครั้ง ยกเว้นวันที่ฝนตกหรือกระถางและเครื่องปลูกยังมีความชุ่มชื้นอยู่ การรดน้ำกล้วยไม้ควรรดในเวลาที่แดดไม่ร้อนจัด เวลาที่เหมาะสมคือตอนเช้าเวลาประมาณ 6.00-9.00 น. เพราะนอกจากจะไม่ร้อนแล้วจะมีช่วงเวลาที่มีแสงแดดยาวนาน กล้วยไม้มีความจำเป็นต้องใช้แสงแดดไปช่วยในการปรุงอาหารเพื่อไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ฉะนั้นช่วงเวลากลางวันจึงเป็นเวลาที่กล้วยไม้ต้องใช้รากดูดความชื้นและนำอาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆ มากที่สุด การรดน้ำในเวลาเช้าจึงได้รับประโยชน์มากที่สุด ในการรดน้ำกล้วยไม้ควรรดให้เปียก เพื่อเป็นการชะล้างเศษปุ๋ยที่เหลือตกค้างซึ่งอาจเป็นพิษแก่กล้วยไม้ให้ไหลหลุดไป ไม่ควรรดน้ำแรงๆ หรือรดน้ำอยู่กับที่นานๆ ควรรดแบบผ่านไปมาหลายๆ ครั้งจนเปียกโชก ทั้งนี้เพื่อให้กระถางและเครื่องปลูกมีโอกาสดูดซึมอุ้มน้ำไว้เต็มที่ การรดน้ำกล้วยไม้ควรรดให้ถูกเฉพาะรากกระถางและเครื่องปลูกเท่านั้น ไม่ควรรดน้ำให้ถูกเรือนยอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้วยไม้ที่มีเรือนยอดใหญ่ เช่น กล้วยไม้สกุลแวนด้าและสกุลช้าง เพราะน้ำอาจตกค้างอยู่ที่เรือนยอดซึ่งอาจทำให้เกิดโรคยอดเน่าได้ 
    การให้ปุ๋ย           ให้ปุ๋ยทุก ๆ 7 วัน โดยใช้ปุ๋ยละลายน้ำ สูตรสูง เช่น สูตร 20-20-20 ในระยะเริ่มปลูกควรให้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง เพื่อช่วยการเจริญเติบโตทางลำต้น และใบเมื่อต้นกล้วยไม้เจริญถึงระยะให้ดอกหรือต้องการเร่งให้ออกดอก ควรใช้ปุ๋ยสูตรที่มีธาตุฟอสฟอรัสสูงไม่ควรฉีดพ่น ปุ๋ยในช่วงที่มีแดดจัด เพราะจะทำให้น้ำที่ละลายปุ๋ยระเหยไปอย่างรวดเร็วทำให้กล้วยไม้ไม่สามารถดูดปุ๋ยไปใช้ได้ และยังทำให้ความเข้มข้นของปุ๋ยสูงขึ้น อาจทำให้ใบไหม้หลังจากให้ปุ๋ยแล้ว ในวันรุ่งขึ้นต้องรดน้ำให้มากกว่าปกติ เพื่อชะล้างเกลือแร่ของปุ๋ยที่ตกค้างอยู่บนเครื่องปลูกและรากออก
              นอกจากการให้ปุ๋ยแล้ว ผู้ปลูกเลี้ยงต้องฉีดพ่นยาฆ่าแมลงและยาป้องกันโรคอย่างสม่ำเสมออาจให้พร้อม ๆ กับการรดน้ำหรือให้ปุ๋ย หากมีการระบาดของโรค และแมลงก็ต้องเลือกใช้ยาที่เหมาะสมกับโรคและแมลงชนิดนั้น ๆ

              ปุ๋ย ที่นำมาให้กับกล้วยไม้           โดยทั่วไปนิยมใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ในการปลูกกล้วยไม้ เพราะนอกจากจะละลายน้ำได้ดี สะดวกในการใช้ ยังมีธาตุอาหารครบถ้วนตามความต้องการของกล้วยไม้ด้วย ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ที่ใช้กับกล้วยไม้มี 3 ลักษณะ คือ ลักษณะเป็นน้ำ เป็นเกล็ดละลายน้ำ และเป็นเม็ดละลายช้า
              - ปุ๋ยน้ำ เป็นปุ๋ยที่มีธาตุอาหารละลายอยู่ในรูปของของเหลว เมื่อต้องการใช้ต้องนำมาผสมกับน้ำตามส่วนที่ระบุบนฉลาก ข้อดีของปุ๋ยน้ำคือละลายง่าย กล้วยไม้สามารถดูดไปใช้ได้เลย ไม่ตกค้างอยู่ในเครื่องปลูก ซึ่งถ้ามีปุ๋ยตกค้างอยู่ในเครื่องปลูกมากอาจเป็นอันตรายต่อกล้วยไม้ได้
              - ปุ๋ยเกล็ดละลายน้ำ เป็นปุ๋ยที่มีธาตุอาหารต่างๆ ที่จำเป็นผสมอยู่ตามสัดส่วน เมื่อจะใช้ต้องนำไปผสมกับน้ำตามสัดส่วนที่ระบุไว้ข้างภาชนะบรรจุปุ๋ย ปุ๋ยผงบางชนิดละลายน้ำได้ดี แต่บางชนิดละลายไม่หมด ปุ๋ยผงจึงไม่เหมาะสำหรับรดกล้วยไม้มากเท่ากับปุ๋ยน้ำ
              - ปุ๋ยเม็ดละลายช้า เป็นปุ๋ยชนิดเม็ดเคลือบที่ภายในบรรจุปุ๋ยไว้เพื่อให้ปุ๋ยค่อยๆ ละลายออกมาอย่างช้าๆ ปุ๋ยชนิดนี้จึงใส่เพียงครั้งเดียวจึงสามารถอยู่ได้นานหลายเดือน จึงทำให้ง่ายในการใช้ ประหยัดแรงงานไม่ต้องใส่บ่อยๆ แต่ปุ๋ยชนิดนี้มีราคาสูง และเหมาะกับกล้วยไม้ที่มีเครื่องปลูกอย่างกล้วยไม้ที่มีระบบรากดินและรากกึ่งอากาศ เช่น แวนด้า หวาย แคทลียา
              วิธีการให้ปุ๋ย           ระยะแรกของการปลูกกล้วยไม้ควรให้ปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนสูง เพื่อช่วยเร่งการเจริญเติบโตของลำต้นและใบ เมื่อต้นกล้วยไม้เจริญถึงระยะให้ดอกหรือต้องการเร่งให้ออกดอก ควรใช้ปุ๋ยสูตรที่มีธาตุฟอสฟอรัสสูงเพื่อกระตุ้นให้กล้วยไม้ออกดอก ปริมาณปุ๋ยที่ใช้ในช่วงฤดูร้อนควรให้ปุ๋ยมากกว่าฤดูหนาวกับฤดูฝน ลูกกล้วยไม้ควรให้ปุ๋ยในอัตราที่อ่อนกว่ากล้วยไม้ใหญ่ ถ้าเป็นต้นที่โตเร็วและได้รับแสงแดดมากต้องให้ปุ๋ยมากกว่าพวกที่โตช้าและเลี้ยงในร่ม การให้ปุ๋ยควรให้สัปดาห์ละครั้ง การรดปุ๋ยกล้วยไม้ควรรดให้ถูกส่วนรากเพราะเป็นส่วนที่ดูดธาตุอาหารและน้ำได้ดีกว่าใบ และไม่ทำให้กล้วยไม้บอบช้ำ
              วิธีการให้ปุ๋ยกล้วยไม้สามารถทำได้หลายวิธีดังนี้
              - รดด้วยบัวรดน้ำชนิดฝอย การให้ปุ๋ยวิธีนี้ถ้ารดกล้วยไม้ที่แขวนราวหลายๆ ราว กล้วยไม้ที่อยู่ราวในๆ จะได้รับปุ๋ยไม่ทั่วถึง วิธีแก้ไขโดยแขวนกล้วยไม้เป็นแถวตามแนวตั้ง ทั้งนี้เพื่อสะดวกแก่การรดน้ำหรือรดปุ๋ยด้วยฝักบัวและสะดวกแก่การบำรุงรักษาได้ทั่วถึงด้วย ถ้าใช้วิธีตั้งกล้วยไม้ไว้บนชั้นแล้วการรดน้ำหรือรดปุ๋ยด้วยวิธีนี้จะสะดวกขึ้น
              - พ่นด้วยเครื่องฉีดชนิดฝอย เป็นวิธีที่เหมาะกับทุกลักษณะของกล้วยไม้ ไม่ว่าจะตั้งหรือแขวนกล้วยไม้ก็สามารถใช้วิธีนี้ได้ แต่ควรเป็นเครื่องฉีดชนิดสูบหรืออัดลม ข้อดีคือทำให้กล้วยไม้ได้รับปุ๋ยทั่วถึงโดยไม่เป็นอันตรายหรือบอบช้ำจากการกระทบกระเทือนหรือกระแสน้ำแรงเกินไป
              - วิธีจุ่ม คือการให้ปุ๋ยโดยจุ่มกระถางกล้วยไม้ลงในน้ำปุ๋ยที่ผสมไว้ ข้อดีของวิธีนี้คือไม่เปลืองน้ำปุ๋ยเพราะน้ำปุ๋ยไม่รั่วไหลไปไหนนอกจากติดไปกับกระถางกล้วยไม้ ความชุ่มของน้ำปุ๋ยในกระถางทั่วถึงดี ข้อเสียคือกล้วยไม้บางกระถางอาจมีโรคและแมลงอาศัยอยู่ เมื่อจุ่มลงในน้ำปุ๋ยโรคและแมลงจะปนออกมากับน้ำปุ๋ย เมื่อนำกระถางกล้วยไม้อื่นมาจุ่มจะทำให้ติดเชื้อโรคและแมลงนั้นได้ ฉะนั้นวิธีนี้จึงอาจเป็นสื่อติดต่อของโรคและแมลงได้ง่าย และถ้าหากไม่ใช้ความระมัดระวังแล้วหน่อที่แตกใหม่อาจจะกระทบกับความแข็งของภาชนะที่ใส่ปุ๋ยทำให้บอบช้ำและเน่าได้
              - ปล่อยน้ำปุ๋ยเข้าท่วมกระถางแล้วระบายออก วิธีนี้เป็นวิธีที่ใช้สำหรับการปลูกกล้วยไม้หรือต้นไม้กระถางในเรือนกระจกใหญ่ๆ โดยตั้งกระถางบนโต๊ะที่ทำเป็นอ่างเก็บน้ำได้ เมื่อต้องการให้ปุ๋ยก็ปล่อยน้ำปุ๋ยที่ผสมตามสัดส่วนให้เข้าไปท่วมกระถางกล้วยไม้ตามระยะกำหนดเวลาที่ต้องการ เมื่อเสร็จแล้วก็ระบายน้ำปุ๋ยออก วิธีนี้ถ้านำไปใช้กับบริเวณเนื้อที่ที่มีต้นไม้มากๆ และเป็นบริเวณที่ควบคุมสภาพของธรรมชาติแวดล้อมได้จะได้ผลดี
              - ใช้เครื่องผสมปุ๋ยกับน้ำ เป็นเครื่องผสมปุ๋ยแบบอัตโนมัติที่ใช้ในการผสมปุ๋ยกับน้ำตามอัตราส่วนที่ต้องการ โดยต่อเครื่องเข้ากับท่อน้ำที่ใช้รดกล้วยไม้ ภายในเครื่องมีปุ๋ยละลายน้ำเข้มข้นอยู่ เมื่อรดน้ำ ปุ๋ยก็จะผสมไปกับน้ำแล้วพ่นออกไปสู่กล้วยไม้ผ่านไปทางหัวฉีดทันที เครื่องผสมปุ๋ยนี้สามารถจะปรับหรือตั้งเพื่อให้ปุ๋ยผสมไปกับน้ำตามอัตราความเข้มที่ต้องการได้ จึงเหมาะสำหรับสวนกล้วยไม้ที่มีจำนวนกล้วยไม้มากๆ สำหรับการให้ปุ๋ยชนิดเม็ดละลายช้าทำโดยโรยเม็ดปุ๋ยบริเวณเครื่องปลูกที่ใกล้กับรากของกล้วยไม้ตามสัดส่วนที่ระบุไว้ข้างภาชนะที่บรรจุปุ๋ย
             
    เวลาที่เหมาะแก่การให้ปุ๋ย           เนื่องจากสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์กับการให้ปุ๋ยอยู่มาก เช่น ปุ๋ยจะเป็นประโยชน์แก่กล้วยไม้ได้ต้องมีแสงสว่าง มีความอบอุ่น อุณหภูมิพอเหมาะและมีความชุ่มชื้นพอดี เป็นต้น แสงสว่างหรือแสงแดดที่เป็นประโยชน์แก่กล้วยไม้คือแสงแดดในตอนเช้า ตั้งแต่เช้าจนถึง เวลาประมาณ 11.00 น. หลังจากนี้แสงแดดจะแรงและมีความร้อนสูงเกินไป การรดปุ๋ยในเวลาเช้า แสงแดดจะช่วยให้กล้วยไม้ได้ใช้ปุ๋ยได้เต็มที่ เพราะแสงแดดช่วยผลิตกำลังงานที่จะใช้ดูดปุ๋ยขึ้นมาใช้ประโยชน์ในการสร้างความเจริญเติบโตของกล้วยไม้ การรดปุ๋ยควรรดสม่ำเสมออาทิตย์ละครั้ง เพื่อกล้วยไม้จะได้รับปุ๋ยหรืออาหารอย่างสม่ำเสมอ ถ้าหากวันที่ครบกำหนดให้ปุ๋ยอากาศครื้มฝนไม่ควรรดปุ๋ย เนื่องจากไม่มีแสงแดดช่วยกล้วยไม้ก็ไม่สามารถดูดซึมปุ๋ยไปใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ และถ้าหากฝนตกปุ๋ยก็จะถูกชะล้างไปกับฝนโดยที่กล้วยไม้ไม่ได้รับประโยชน์จากปุ๋ยนั้นเลย จึงควรงดการให้ปุ๋ยในวันดังกล่าว และอาจเลื่อนการให้ปุ๋ยไปในวันถัดไป หรืออาจงดให้ปุ๋ยในอาทิตย์นั้นแล้วไปรดในอาทิตย์ถัดไปก็ได้
    การเก็บเกี่ยว           เพื่อให้ได้ดอกที่มีคุณภาพดี ผู้ปลูกต้องกำหนดวันตัดดอกให้แน่นอน แล้วจัดตารางใส่ปุ๋ย -ยาฆ่าแมลงให้เหมาะสม หากให้ปุ๋ยก่อนตัดดอก 1-2 วัน จะทำให้คุณภาพดอกและอายุการปักแจกันลดลง ช่วงเวลาตัดดอกควรตัดในช่วงเข้ามืดโดยใช้มือหักกดลงที่โคนก้านช่อหรือตัดด้วยกรรไกร โดยต้องทำ ความสะอาดกรรไกรทุกครั้ง เพื่อป้องกันการระบาดของโรคโดยเฉพาะจากเชื้อไวรัส ลักษณะของช่อดอกที่สามารถตัดได้ในกล้วยไม้สกุลหวาย ดอกต้องบาน 3/4 ของช่อดอก, ออนซิเดียมตัดในระยะเหลือดอกตูมที่ปลายช่อ 1-2 ดอก แวนด้า และแอสโคเซนด้า ตัดดอกเมื่อดอกบานหมดช่อ ส่วนอะแรนด้า, ม๊อคคาร่า ตัดดอกเมื่อดอกบานเกือบหมดช่อหรือหมดช่อ         
    การเก็บรักษาความสดดอกไม้         วิธีการดูแลรักษาดอกไม้ให้นานคงทน  ควรเริ่มตั้งแต่การเลือกซื้อดอกไม้ที่สดใหม่ เมื่อเรานำดอกไม้ที่ได้มาจากร้านค้าก่อนอื่น คือ การทำความสะอาดก้านโดยการริดใบและหนามออก  จากนั้นจะมีวิธีการตัดก้านต่างๆ เช่น   การตัดก้านเฉียง เพื่อให้ดอกไม้ดูดซึมน้ำได้ดี แล้วจึงนำไปแช่ในน้ำสะอาด  หรือ บางครั้งอาจจะใช้ฟลาวเวอร์ฟูดส์ผสมลงในน้ำ เพื่อแช่ดอกไม้  ก็จะทำให้ดอกไม้สด    
    วิธีการตัดดอกไม้นั้นมีหลายวิธี  เช่น  การตัดก้านเฉียง  การทุบก้าน การตัดก้านใต้น้ำ การตัดก้านเป็นแฉก การตัดก้านแช่ในน้ำเย็น การตัดก้านแช่ในน้ำร้อน 









    ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น